วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย

หน่วยรับข้อมูล ( input unit )

๑. แผงแป้นอักขระ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการกดบนแป้นอักขระ (Keyboard)



แผงแป้นอักขระ

๒. เมาส์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นปุ่มกดครอบอยู่กับลูกกลมที่เมื่อลากไปกับพื้นแล้ว จะมีการส่งสัญญาณตามแกน x และแกน y เข้าสู่คอมพิวเตอร์



. เมาส์

๓. ก้านควบคุม (Joy stick) ประกอบด้วย ก้านโยก ซึ่งโยกได้หลายทิศทาง ขณะที่โยกก้านไปมา ตำแหน่งของตัวชี้จะเปลี่ยนไปด้วย



ก้านควบคุม (Joy stick)

๔. เครื่องอ่านรหัสแท่ง เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้สำหรับอ่านรหัสแท่ง ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วย เส้นขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่าง ๆ

เครื่องอ่านรหัสแท่ง

๕. สแกนเนอร์ Scannerทำหน้าที่รับสัญญาณภาพและส่งข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์



สแกนเนอร์

๖. ไมโครโฟน Microphone ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงและส่งข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

ไมโครโฟน Microphone
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU

หน่วยประมวลผล
      หน่วยประมวลผลมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ซีพียู (Central Processing Unit: CPU) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์
๑. หน่วยควบคุมมีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างประมวลผล
๒. หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่นำข้อมูลซึ่งเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าแบบตัวเลขฐานสอง
ตัวอย่างหน่วยประมวลผล
หน่วยความจำหลัก

หน่วยความจำหลัก
      หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียกไปใช้งานได้
หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
      1. แรม (Random Access Memory: RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลทั่วไป หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อไรข้อมูลจะหายทันที จำนวนของหน่วยความจำนี้มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง

แรม (Random Access Memory: RAM)


      2. รอม (Read Only Memory: ROM) เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึงโดยสุ่ม หน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่างเมื่อเปิดเครื่องมาซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ข้อมูลหรือโปรแกรมที่รอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบ

 

หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
  ๑. จอภาพ มีลักษณะเป็นจอเหมือนจอโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร เครื่องหมายพิเศษ และยังสามารถแสดงรูปภาพได้ด้วย
 
จอภาพ

      ๒. เครื่องพิมพ์
      เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีหัวยิงเป็นเข็มขนาดเล็ก
      เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้ความคมชัดและความละเอียดสูง การพิมพ์ใช้หลักการทางแสง
      เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (Line printer)เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีความเร็วในการพิมพ์สูงมากสามารถพิมพ์ได้หลายรอ้ยบรรทัดต่อนาที
 
เครื่องพิมพ์

      ๓. ลำโพง
 
ลำโพง

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
 ๑ แผ่นบันทึก (Floppy disk หรือ Diskette) นิยมใช้ในปัจจุบันมีขนาด ๓.๕ นิ้ว มีความจุ ๑.๔๔ เมกะไบต์
 
แผ่นบันทึก (Floppy disk หรือ Diskette)

      ๒ ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่สารแม่เหล็กเป็นแผ่นเรียงกัน ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก
 
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

      ๓ แผ่นซีดี (Compact Disk: CD) การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการการทางแสง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลได้ ซีดีรอม (CD ROM) สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า ๖๐๐ เมกะไบต์
 
แผ่นซีดี (Compact Disk: CD)

      ๔. แฟลช ไดร์ฟ Flash Drive หรือ แฮนดี้ ไดร์ฟ Handy Drive
สื่อบันทึกข้อมูลขนาดเล็ก ที่ใช้ร่วมกับช่อง USB คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยม มีขนาดตั้งแต่ 128, 256 ขึ้นไป บางรุ่นสามารถฟังเพลง MP3 อัดเสียง ฟังวิทยุได้
 
 
แฟลช ไดร์ฟ Flash Drive หรือ แฮนดี้ ไดร์ฟ Handy Drive



หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์

หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น