คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
๑. แผงแป้นอักขระ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการกดบนแป้นอักขระ (Keyboard)
แผงแป้นอักขระ
๒. เมาส์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นปุ่มกดครอบอยู่กับลูกกลมที่เมื่อลากไปกับพื้นแล้ว จะมีการส่งสัญญาณตามแกน x และแกน y เข้าสู่คอมพิวเตอร์
. เมาส์
๓. ก้านควบคุม (Joy stick) ประกอบด้วย ก้านโยก ซึ่งโยกได้หลายทิศทาง ขณะที่โยกก้านไปมา ตำแหน่งของตัวชี้จะเปลี่ยนไปด้วย
ก้านควบคุม (Joy stick)
๔. เครื่องอ่านรหัสแท่ง เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้สำหรับอ่านรหัสแท่ง ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วย เส้นขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่าง ๆ
เครื่องอ่านรหัสแท่ง
๕. สแกนเนอร์ Scannerทำหน้าที่รับสัญญาณภาพและส่งข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
สแกนเนอร์
๖. ไมโครโฟน Microphone ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียงและส่งข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ไมโครโฟน Microphone
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยประมวลผล
หน่วยประมวลผลมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ซีพียู (Central Processing Unit: CPU) เป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์๑. หน่วยควบคุมมีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องระหว่างประมวลผล
๒. หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่นำข้อมูลซึ่งเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าแบบตัวเลขฐานสอง
ตัวอย่างหน่วยประมวลผล
หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียกไปใช้งานได้
หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. แรม (Random Access Memory: RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลทั่วไป หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อไรข้อมูลจะหายทันที จำนวนของหน่วยความจำนี้มีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง
![]() |
![]() |
แรม (Random Access Memory: RAM) |
2. รอม (Read Only Memory: ROM) เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึงโดยสุ่ม หน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่างเมื่อเปิดเครื่องมาซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ข้อมูลหรือโปรแกรมที่รอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบ
![]() |
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
๑. จอภาพ มีลักษณะเป็นจอเหมือนจอโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร เครื่องหมายพิเศษ และยังสามารถแสดงรูปภาพได้ด้วย
![]() |
![]() |
จอภาพ |
๒. เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot matrix printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีหัวยิงเป็นเข็มขนาดเล็ก
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser printer)เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้ความคมชัดและความละเอียดสูง การพิมพ์ใช้หลักการทางแสง
เครื่องพิมพ์รายบรรทัด (Line printer)เครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีความเร็วในการพิมพ์สูงมากสามารถพิมพ์ได้หลายรอ้ยบรรทัดต่อนาที
![]() |
![]() |
![]() |
เครื่องพิมพ์ |
๓. ลำโพง
![]() |
![]() |
ลำโพง |
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
๑ แผ่นบันทึก (Floppy disk หรือ Diskette) นิยมใช้ในปัจจุบันมีขนาด ๓.๕ นิ้ว มีความจุ ๑.๔๔ เมกะไบต์
![]() |
![]() |
![]() |
แผ่นบันทึก (Floppy disk หรือ Diskette) |
๒ ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) จะประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่สารแม่เหล็กเป็นแผ่นเรียงกัน ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก
![]() |
ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) |
๓ แผ่นซีดี (Compact Disk: CD) การเก็บข้อมูลบนแผ่นซีดีใช้หลักการการทางแสง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลแบบดิจิตอลได้ ซีดีรอม (CD ROM) สามารถเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมได้มากกว่า ๖๐๐ เมกะไบต์
![]() |
![]() |
แผ่นซีดี (Compact Disk: CD) |
๔. แฟลช ไดร์ฟ Flash Drive หรือ แฮนดี้ ไดร์ฟ Handy Drive
สื่อบันทึกข้อมูลขนาดเล็ก ที่ใช้ร่วมกับช่อง USB คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยม มีขนาดตั้งแต่ 128, 256 ขึ้นไป บางรุ่นสามารถฟังเพลง MP3 อัดเสียง ฟังวิทยุได้
![]() |
![]() |
![]() |
แฟลช ไดร์ฟ Flash Drive หรือ แฮนดี้ ไดร์ฟ Handy Drive |
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก